Skip to content
- คำถาม ในรอบปีที่ประเมินมีหลักสูตร 2 ส่วน คือ หลักสูตรเดิม และหลักสูตรปรับปรุง ในการประเมินจะคิดเป็นกี่ หลักสูตร และใช้ข้อมูลอะไร เช่น สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (พ.ศ. 2559) และ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2562) เป็นต้น
- คำตอบ นับเป็น 1 หลักสูตร และใช้ข้อมูลหลักสูตรล่าสุดเท่านั้น คือ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
- คำถาม กรณีเปลี่ยนอาจารย์ประจําหลักสูตรระหว่างปีการศึกษาจะนับตําแหน่ง/คุณวุฒิ/ผลงานวิชาการอย่างไร
- คำตอบ ให้นับชุดล่าสุดของปีการศึกษานั้นๆ กรณีที่อาจารย์ประจําได้ตําแหน่งวิชาการ/เพิ่มคุณวุฒิให้นับตําแหน่งวิชาการ/คุณวุฒิล่าสุดของปีการศึกษา (ไม่สนใจจํานวนเดือน)
- คำถาม คําว่า “อาจารย์ใหม่” ในหลักสูตร หากเป็นอาจารย์เก่าจากหลักสูตรอื่น แต่ย้ายมาอยู่อีกหลักสูตร ต้องมี ปฐมนิเทศหรือไม่
- คำตอบต้องมีโดยอาจดําเนินการโดยประธานหลักสูตรเพื่อให้ทราบรายละเอียดของหลักสูตรใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น ระบบบริหารหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร รายวิชาในหลักสูตร เป็นต้น
- คำถาม กรณีหลักสูตรไม่ผ่านการประเมิน (องค์ประกอบที่1 ไม่ผ่าน) จะเกิดอะไรขึ้น
- คำตอบ กรณีหลักสูตรไม่ผ่านการประเมิน จะส่งผลต่อการระงับการรับนักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป รวมทั้ง หลักสูตรไม่ได้รับการเผยแพร่และรับรองโดย สกอ. และทําให้คะแนนการประเมินในระดับคณะและสถาบัน มีค่าต่ําลง
- คำถาม การประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ต้องประชุมกี่ครั้ง และหัวข้อการประชุมเป็นอย่างไร
- คำตอบ ในแต่ละปีการศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้องมีการประชุมอย่างน้อย 5 ครั้ง ใน 3 หัวข้อประชุม คือ
- ก่อนการเปิดปีการศึกษา วาระการประชุมเรื่องการวางแผนหลักสูตร
- ระหว่างภาคการศึกษา วาระการประชุมเรื่องการติดตามการดําเนินงานหลักสูตร
- สิ้นภาคการศึกษา วาระการประชุมเรื่องการทบทวนการดําเนินงานหลักสูตร
- คำถาม การประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติใช้ข้อมูลบัณฑิตรุ่นใด
- คำตอบ ใช้ข้อมูลบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาและทํางานแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- คำถาม การประเมินร้อยละบัณฑิตปริญญาตรีที่มีงานทํา ใช้ข้อมูลบัณฑิตรุ่นใด
- คำตอบ ใช้ข้อมูลบัณฑิตรุ่นล่าสุดที่สําเร็จการศึกษายังไม่ครบรอบปีโดยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง แต่ต้องเป็นบัณฑิตที่มีงานทําในรอบ 1 ปีเมื่อสําเร็จการศึกษา
- คำถาม การพิจารณารอบปีในการประเมิน จะคํานวนอย่างไร
- คำตอบ
- ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับนักศึกษา ผลงานตีพิมพ์ ใช้ตามปีการศึกษา
- ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับอาจารย์ การนับอาจารย์ใช้ตามปีการศึกษา
- ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงานวิชาการ ของอาจารย์ ใช้ตามปีปฏิทิน
- ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับแผนและงบประมาณ ใช้ตามปีงบประมาณของการประเมิน
- คำถาม “การบูรณาการกระบวนการจากผลการประเมิน” หมายความว่าอย่างไร
- คำตอบ ต้องมีการปรับปรุง PDCA หรือ บูรณาการกระบวนการจากผลการประเมิน เป็นการดําเนินการซ้าํ เพื่อ ยืนยันว่าระบบ PDCA มีประสิทธิภาพ
- คำถาม ตัวบ่งชี้ระบุเกี่ยวกับ “แนวโน้ม” ต้องใช้ข้อมูลอย่างไร กี่รอบการดําเนินงาน
- คำตอบ ต้องระบุผลการดําเนินงานอย่างน้อย 3 รอบการดําเนินงาน และต้องปรับให้ดีขึ้นตลอด และต่อเนื่อง ตกลง มาแม้แต่ปีเดียว จะไม่ได้คะแนน
- คำถาม ตัวบ่งชี้ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา เกี่ยวกับความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษาจะ ดําเนินการอย่างไร
- คำตอบ ต้องแสดงข้อมูล จํานวนเรื่องที่นักเรียนร้องเรียน และจํานวนเรื่องที่ได้รับการแก้ไข รวมทั้งความพึงพอใจ ของนักศึกษาในภาพรวม ดังนั้นจึงต้องมีข้อมูล จํานวนเรื่องนักศึกษาร้องเรียนและได้รับการแก้ไข
- คำถาม การพิจารณาตําแหน่งวิชาการ/คุณวุฒิที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปีการศึกษาให้นับอย่างไร
- คำตอบ ให้นับเป็นตําแหน่งวิชาการ/คุณวุฒิของอาจารย์ประจําหลักสูตร ณ วันสุดท้ายของปีการศึกษา
- คำถาม ผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ทําร่วมกันระหว่างอาจารย์ประจําหลักสูตรมากกว่า 1 คน จะคิดอย่างไร
- คำตอบ งานวิจัยที่ทําร่วมกันของอาจารย์ประจําต่างหลักสูตร ให้แต่ละหลักสูตรต่างฝ่ายต่างนับได้แต่หากหลักสูตรเดียวกันมีอาจารย์ประจําหลักสูตรเดียวกันร่วมกันทํา ให้นับตามจํานวนอาจารย์ที่มีส่วนร่วมในการตีพิมพ์ (ยึดจํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตรเป็นฐานการคํานวณ)
- คำถาม การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้(ตัวบ่งชี้6.1) ครอบคลุม กลุ่มบุคคลใด
- คำตอบ นักศึกษา อาจารย์ประจําหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร
- คำถาม ผลงานร่วมระหว่างอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอก สามารถนับซ้ําได้หรือไม่
- คำตอบ นับซ้ําได้ใน 3 ตัวบ่งชี้คือ ผลงานนักศึกษาปริญญาเอก ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจําหลักสูตร และ การอ้างอิงผลงานอาจารย์ในหลักสูตรปริญญาเอก
- คำถาม การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและที่ปรึกษาร่วมระดับบัณฑิตศึกษา มีการกําหนดจํานวนอย่างไร
- คำตอบ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักไม่เกิน 5 คน (รวมทั้งระดับปริญญาโทและเอก ทุกหลักสูตร) แต่ขออนุมัติสภาพได้ ไม่เกิน 10 คน หากเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้คํานึงถึงความเชี่ยวชาญของอาจารย์ที่ ตรงกับวิทยานิพนธ์