ประวัติสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา

ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงาน

      ชื่อหน่วยงาน       :  สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา

      อักษรย่อ             :  มมร

      ภาษาอังกฤษ      :  Office of Education Quality Assurance

      อักษรย่อ             :  QA MBU

      ที่ตั้ง                   :  เลขที่ 248 ม.1 บ้านวัดสุวรรณ ถ.ศาลายา–นครชัยศรี ต.ศาลายา

                                   อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

                                   โทร. 0-2444-6000 ต่อ 1135, โทรสาร 0-2444-6079

                                  www.qa.mbu.ac.th





ประวัติ

     การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผลสืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

     มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก “ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

     มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้คำว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณะชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประกันคุณภาพจากหน่วยงานภายนอก





การประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกโดยมีผู้รับผิดชอบและกระบวนการดังนี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
ผู้รับผิดชอบ : มหาวิทยาลัยผู้รับผิดชอบ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
กระบวนการประกอบด้วยกระบวนการประกอบด้วย
– การควบคุมคุณภาพ
– การตรวจสอบคุณภาพ
– การประเมินคุณภาพ
– การตรวจสอบคุณภาพ
– การประเมินคุณภาพ
– การให้การรับรอง





มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2544  –ปัจจุบัน

ปี พ.ศ.การดำเนินงาน
23  มกราคม  พ.ศ.  2544–   คำสั่งที่  15 / 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  กำหนดนโยบาย  หลักเกณฑ์  และแนวปฏิบัติต่าง ๆ
2.  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพ
3.  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ
4.  กำหนดวิธีการตรวจสอบและประเมินผลระบบและกลไก
5.  ตรวจสอบและประเมินผลในระดับคณะวิชา 6.  ภารกิจอื่น ๆ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
 –  คำสั่งที่  16 / 2544 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพ  การศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  พัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.  ส่งเสริมการพัฒนาระบบในระดับคณะวิชา
3.  ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการประกันคุณภาพมอบหมาย
 –   คำสั่งที่  17 / 2544 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  ศึกษาและวิเคราะห์แบบรายงานการศึกษาตนเองของคณะวิชา
2.  ศึกษาและวิเคราะห์รายงานสำคัญอื่น ๆ ของคณะวิชา
3.  ตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา
4.  เยี่ยมชมคณะวิชาทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
5.  ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา
6.  เขียนสรุปรายงานเยี่ยมชมคณะวิชาและเสนอแนะผลการประเมินต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพ
4  กรกฎาคม  พ.ศ.  2544–   คำสั่งที่  120 / 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานประจำสำนักงานประกันคุณภาพ  โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  บริหารงานต่าง ๆ ในสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
2.  จัดอบรม  สัมมนา หรือประชุมเกี่ยวกับโครงการที่สำนักงาน ฯ รับผิดชอบ
3.  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทำงานนอกเวลาในโครงการที่สำนักงาน ฯ รับผิดชอบได้ตามความเหมาะสม
4.  ให้คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ทำงานนอกเวลาที่คระกรรมการแต่งตั้ง สามารถเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าล่วงเวลา ได้ตามความเหมาะสม และเป็นจริงจากงบประมาณ ในโครงการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
5.  กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ให้ถือตามมติของคณะกรรมการเป็นหลักเพื่อจัดดำเนินการ
18  กรกฎาคม  พ.ศ.  2544ออกประกาศ เรื่อง “นโยบายและแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2544”
23  กันยายน  พ.ศ.  2544สัมมนา เรื่อง “แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับอุดมศึกษา”
12  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2545–  มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศ ว่าด้วย การจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ. 2545 (เพิ่มเติม) โดยให้สำนักงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษา (มีฐานะเทียบเท่ากอง) อยู่ภายใต้สำนักงานอธิการบดี
–  คำสั่งที่ 33 /2545 แต่งตั้งหัวหน้าสำนักงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการประจำสำนักงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย  โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
2.  ประสานงานกับส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3.  รับเรื่องราวต่าง ๆ จากคณะกรรมการประกันคุณภาพ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพและคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ
4.  กำหนดแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษา
5.  จัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
6.  รายงานกิจกรรมในสำนักงานเป็นระยะ ๆ
7.  ประสานงานด้านวิชาการและงานอื่น ๆ อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
8.  ปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นตามที่คณะกรรมการประกันคุณภาพมอบหมาย
31  ตุลาคม  พ.ศ.  2545– คำสั่งที่ 263/2545 แต่งตั้งคณะกรรมกาประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (โดยยกเลิกคำสั่งที่ 15/2544) โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ
2.  กำหนดวิธีการตรวจสอบและประเมินผลระบบและกลไก
3.  ตรวจสอบและประเมินผลในระดับคณะ วิทยาลัยศาสนศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆภารกิจอื่น ๆ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
4.  ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรในคณะ และหน่วยงานย่อยต่าง ๆ
5.  เขียนสรุปรายงานเยี่ยมชนการดำเนินงานของคณะและหน่วยงานย่อยต่าง ๆ แล้วเสนอผลกาปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย โดยผ่านสำนักงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษา
1  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2545– คำสั่งที่ 264/2545  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  พัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
2.  ส่งเสริมการพัฒนาระบบในระดับคณะ วิทยาลัยศาสนศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ
3.  ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษามอบหมาย
18  สิงหาคม  พ.ศ.  2547–   คำสั่งที่ 198/2547  แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดและจัดระบบเอกสารของคณะและหน่วยงานต่าง ๆ (เฉพาะหน่วยงานย่อยส่วนกลางทุกหน่วยงาน)  โดยมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.  จัดระบบเอกสารและจัดหาเอกสารบรรจุแฟ้มให้คณะและหน่วยงานย่อยสายสนับสนุนต่าง
2.  ติดต่อประสานงานกับบุคลากรในคณะและหน่วยงานย่อยสายสนับสนุนนั้น ๆ เพื่อการจัดระบบเอกสารให้สมบูรณ์
3.  สามารถตรวจสอบและประเมินเอกสารที่คณะและหน่วยงานย่อย นั้น ๆมีอยู่ทั้งหมด
4.  เยี่ยมชมการดำเนินงานของคณะและหน่วยงานย่อยสายสนับสนุนส่วนกลางทุกหน่วยงาน
5.  ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรในคณะ และหน่วยงานย่อยต่าง ๆ
6.  เขียนสรุปรายงานเยี่ยมชมคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานย่อยต่าง ๆ และเสนอแนะผลการประเมินต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินย่อยภายใน โดยจัดแบ่งออกเป็นชุด ๆ เพื่อออกตรวจสอบคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ตลอดจนสามารถกำหนดบทให้คุณและให้โทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และนำเสนอต่อ กบม. เพื่อพิจารณาโดยผ่านอธิการบดี
29  ธันวาคม  พ.ศ.  2547เปลี่ยนชื่อเดิม “สำนักงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา”ชื่อใหม่ “สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”ตามมติสภามหาวิทยาลัยที่ 80/2549 ประชุมครั้งที่ 5/2549 วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2549